ในจำนวนรายการอุปกรณ์ช่วยรบตามบัญชีการสนับสนุนของโครงการไทยช่วยสันติสุข ครั้งที่ 2 มี รถจักรยานยนต์ ยี่ฮ้อ ฮอนด้า รุ่น ซีบีอาร์ 150 ซีซี (พีแอล) จำนวน 16 คัน รวมอยู่ด้วย (เบื้องต้นราคาอยู่ที่คันละ 65,000 บาท ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างตกลงราคาอีกครั้งกับทางบริษัทฮอนด้า คาดว่าจะได้รับราคาที่ถูกลงกว่านี้อีก และทางคณะกรรมการโครงการฯ จะแจ้งให้ท่าผู้บริจาคทราบในวาระต่อไปค่ะ)
รถจักรยานยนต์ยี่ฮ้อ ฮอนด้า รุ่น ซีบีอาร์ 150 ซีซี (พีแอล) นั้น เป็นรถจักรยานยนต์รุ่นที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำหนดให้เป็นรถจักรยานยนต์มาตรฐานในการปฎิบัติภารกิจของตำรวจ ( สภาพเหมือนรถที่ตำรวจจราจรใช้ค่ะ ถ้าได้ไฟล์ภาพจากทางบริษัทฮอนด้าเมื่อไหร่จะนำมาลงให้ท่านผู้บริจาคดูอีก ครั้งหนึ่งนะคะ) ซึ่งมีความทนทานสูง เหมาะสำหรับสภาพการใช้งานในพื้นที่ลาดชันสลับกับเนินเขาเป็นระยะๆ เพราะสามารถแบกรับน้ำหนักโดยรวมได้มากกว่ารถจักรยานยนต์ทั่วไป
ภาพและเหตุผลประกอบมาให้ทุกท่านทราบว่าทำไมรถจักรยานยนต์จึงมีความจำเป็นในการปฏิบัติภารกิจใน 3 จังหวัดชาตแดนภาคใต้รถจักรยานยนต์
ทำไมถึงต้องใช้รถจักรยานยนต์ ?!?
1. การใช้จักรยานยนต์เป็นพาหนะในพื้นที่ เพื่อเพิ่มเป้าหมายที่ฝ่ายตรงข้ามจะกระทำ ซึ่งเป็นการลดความ สูญเสียในการปฏิบัติงาน ของกำลังพล และสามารถเพิ่มความอยู่รอดในสนามรบเพื่อทำการตอบโต้ฝ่ายตรงข้าม
2. สภาพเส้นทางในการปฏิบัติหน้าที่ (ในพื้นที่รับผิดชอบ) เป็นเนินเขาสลับทางลาดชัน การใช้รถจักรยานยนต์ ในการ ระงับเหตุหรือสนับสนุนชุดที่ถูกซุ่มโจมตี สามารถกระทำได้อย่างคล่องตัวและรวดเร็วกว่าการใช้รถยนต์
3. เนื่องจากสภาพพื้นที่ตามข้อ 2. ประกอบกับน้ำหนักในการบรรทุกเจ้าหน้าที่ 1 คันต่อเจ้าหน้าที่ 2 นาย รถจักรยานยนต์ที่เหมาะสมควรจะมีขีดความสามารถ ทนทานทั้งรูปร่างและสภาพเครื่องยนต์ และสามารถใช้เดินทางในระยะไกล 100กิโลเมตรได้โดยสภาพเครื่องยนต์ของรถไม่เสื่อมสภาพไวนัก
4. การใช้จักรยานยนต์สามารถลดการใช้งบเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงซึ่ง อะไหล่และอุปกรณ์ต่างๆ เช่นน้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก ผ้าเบรก เป็นต้น ซึ่งของรถจักรยานยนต์จะถูกกว่ารถยนต์กระบะ และสามารถทำการเปลี่ยนซ่อมบำรุงรักษา และนำกลับมาใช้ปฏิบัติหน้าที่ ได้ไวกว่ารถยนต์
ภารกิจที่ต้องใช้รถจักรยานยนต์ มีอะไรบ้าง !?!
รักษาความปลอดภัยให้แก่คณะครู
หน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยให้กับคณะครู ที่เข้ามาสอนในพื้นที่ฯ โดยจะทำการรับส่ง ในทุกวันจันทร์และวันศุกร์ของทุกสัปดาห์ ระยะทางตั้งแต่ อ.บันนังสตา ถึง บ้านสันติ 2 รวมระยะทาง ทั้งสิ้น 36 กิโลเมตร รวมระยะทางไปกลับ 72 กิโลเมตร แต่ลักษณะภูมิประเทศ ตั้งแต่ บ้านสันติ 2 จนถึงหน้าเขื่อนบางลาง มีลักษณะเป็นทางขึ้นลาดชัน สลับกับทางคดเคี้ยว (ดูแผนที่ประกอบ)
การจัดซื้ออาหารในแต่ละสัปดาห์
เนื่องจากในแต่ละเดือน นั้นแต่ละชุดปฏิบัติการนั้น ต้องซื้อจัดซื้ออาหาร โดยช่วงระยะเวลาทุกๆ 5 วัน ซึ่งจะใช้รถจักรยานยนต์ในการ รปภ. รถยนต์ที่ออกไปขนอาหารสดและอาหารแห้ง โดยเดินทางจาก บ้านสันติ 2 ถึงตัวเมืองจังหวัดยะลา รวมระยะทางทั้งสิ้น 75 กิโลเมตร ยะระทางไปกลับ 150 กิโลเมตร ซึ่งหนึ่งเดือนจะทำการซื้ออาหารทั้งหมด 6 ครั้ง โดยจะใช้รถยนต์ 1 คัน และรถจักรยานยนต์ 4 คัน
การสนับสนุนบุคคลสำคัญในพื้นที่
โดยทั่วไปจะเป็นการ รักษาความปลอดภัยผู้ใหญ่บ้าน หรือ พระสงฆ์(สำนักสงฆ์บ้านเยาะ) ในกรณีที่มีภารกิจที่ทางราชการหรือทางจังหวัดแจ้งมาให้ออกไป ดำเนินการภารกิจของ กลุ่มบุคคลดังกล่าวก็จะใช้รถจักรยานยนต์เป็นหลักในการรักษาความปลอดภัย
ทำไมต้องเป็นฮอนด้า ซีบีอาร์ 150 ซีซี ?!?
ในภารกิจมีความจำเป็นต้องใช้รถจักรยานยนต์ 4 คัน ต่อ รถยนต์ 1 คัน (รถยนต์ใช้สำหรับเสริมความหนาแน่นของกำลังพลและขนรถจักรยานยนต์ในกรณีที่รถ จักรยานยนต์เสีย) การ ใช้รถจักรยานยนต์เพื่อประกอบภารกิจนั้น น้ำหนักตำรวจรวมอาวุธปืน กระสุน เสื้อเกราะ และหมวกเหล็กแล้ว หนึ่งนายมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 80 - 100 กิโลกรัม และรถจักรยานยนต์ 1 คัน ต้องบรรทุกตำรวจ 2 นาย จึงจำเป็นต้องใช้รถจักรยานยนต์ที่สามารถบรรทุกน้ำหนักได้มากกว่ารถ จักรยานยนต์ปกติทั่วๆ ไป และต้องมีเครื่องยนต์ที่มีกำลังมากเพียงพอ เพราสภาพพื้นที่ที่ใช้งานนั้นมีลักษณะเป็นเนินเขา ทางลาดชัน ถ้าจำนวนเครื่องยนต์ต่ำและต้องแบกรับน้ำหนักตำรวจพร้อมอาวุธอีก 2 นาย ผลคือ รถจักรยานยนต์หมดกำลัง หรือไม่มีแรงพอที่จะขับเคลื่อน ทำให้ประสิทธิภาพในการปฎิบัติภารกิจลดน้อยลง
บริจาคให้กับใคร และทำไมต้องบริจาคถึง 16 คัน ?!?
โครงการไทยช่วยสันติสุข ครั้งที่ 2 มีความประสงค์จะบริจาครถจักรยานยนต์ ยี่ห้อฮอนด้า ซีบีอาร์ 150 ซีซี (พีแอล) จำนวน 16 คัน หรือตามจำนวนที่ได้รับบริจาคทั้งหมด ให้กับกองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน จัดกำลังพล 2 กองร้อย (4 ชุดปฎิบัติการ ได้แก่ ชุด รพศ.1 ,รพศ.2 ,รพศ.3 และรพศ.4 ) ในพื้นที่จังหวัดยะลา ซึ่งแบ่งเป็นชุดปฎิบัติการละ 4 คัน
แผนที่แสดงเส้นทางการเดินทางหลักระหว่างเขื่อนบางลางและโรงกเรียนบ้านเยาะ
ภาพการลาดตระเวนตรวจพื้นที่ซุ่มเสี่ยง
สภาพบริเวณเส้นทางที่เป็นป่ารก และเนินสูงชัน
ระดมกำลังปรับปรุงบริเวณเส้นทาง ลดความเสี่ยงในการถูกซุ่มโจมตี
เจ้าหน้าที่และชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจกันตัดพุ่มไม้รกสองข้างทาง